Last updated: 20 ม.ค. 2565 | 647 จำนวนผู้เข้าชม |
ป้องกันและกำจัด ไฟทอปธอร่าในทุเรียน ด้วยทอลล่า 80 สามารถใช้ทั้งพ่นหรือทาต้นได้
โรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน (ไฟทอปธอร่า) สามารถเกิดได้ทุกส่วนตั้งแต่ ราก ลำต้น ใบ ดอกและผล เมื่อสภาพฝนตกชุก และอากาศมีความชื้นสูง
อาการ ทำให้รากมีสีน้ำตาล ช้ำและเน่า ลามไปสู่ลำต้น มักพบอาการบริเวณโคนต้น ทำให้เน่า เปลือกและลำต้นแตกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลม่วง เนื้อเยื่อนิ่ม มีสีน้ำตาลแดง อาการที่ผล พบจุดสีน้ำตาลและลามเข้าไปสู่เนื้อข้างใน ทำให้เนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เน่า อาการพบในผลใกล้สุก
เชื้อราสาเหตุโรค Phytophthora palmivora
การป้องกันและกำจัด เชื้อรา P. palmivora เป็นเชื้อราที่มีความผันแปรสูง ยากต่อการป้องกันกำจัด ควรดูแลต้นทุเรียนให้แข็งแรง เลี่ยงการเกิดบาดแผลที่เป็นช่องเปิดเชื้อสามารถเข้าได้ ควรใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การใช้สายพันธุ์ต้านทาน ใช้วิธีเขตกรรม และการใช้สารเคมี
ที่มา: มณีรัตน์. 2561. การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการเกิดโรคของเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียนในประเทศไทย
ทอลล่า 80
ชื่อสามัญ : ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WG
กลุ่มสาร : Phosphonate (กลุ่ม P07)
การออกฤทธิ์ : ดูดซึม
ประโยชน์ : ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โรคยอดเน่า ผลเน่า โรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา
อัตรา : 300-400 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566