Last updated: 14 ม.ค. 2568 | 113 จำนวนผู้เข้าชม |
สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ https://youtu.be/6aumUbX-Mgw
ไรเป็นหนึ่งในศัตรูพืชที่สำคัญ
สามารถเข้าทำลายและสร้างความเสียหายแก่พืชปลูกโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ โดยมากมักพบไรแดงรวมกลุ่มกันอยู่ใต้ใบ สร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมไข่และตัวอ่อน และมักพบคราบคล้ายฝุ่นผงสีขาวปกคลุมบริเวณหน้าใบด้วยเช่นกัน
ไรบางชนิดดูดกินน้ำเลี้ยงจากใต้ใบและบางชนิดจากผิวใบด้านบน ทำให้เกิดอาการใบซีดด่างขาวเป็นจุดและขยายมาชนกันและหากอาการรุนแรงบริเวณที่ซีดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลและหลุดร่วงก่อนที่ใบจะหมดอายุ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้ใบมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
ไรมีหลายชนิดสามารถเข้าทำลายพืชได้หลากหลายกลุ่มทั้ง ไม้ผล ไม้ใบและไม้ดอก เช่น ไรแดงแอฟริกัน (Eutetranychus africanus) เข้าทำลาย ทุเรียน ส้ม ส้มโอ มะนาว ถั่ว แตงโม มะละกอ เป็นต้น และไรแดงมันสำปะหลัง/ไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus) ไรแมงมุมคันซาวา (Tetranychus kanzawa) ไรแดงชมพู่ (Oligonychus biharensis) เข้าทำลาย มันสำปะหลัง ผักบุ้ง กุหลาบ ชะบา หม่อน ชมพู่ สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น
โดยมากมักพบการระบาดของไรแดงในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งและลมแรง โดยเฉพาะฤดูหนาวและฤดูร้อนช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน (ถ้าเป็นทุเรียน มักพบระบาดช่วงพฤศจิกายน-มกราคม)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ไร ไม่ใช่ แมลง” เพราะ ไร มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแมลงซึ่งมี 6 ขา แต่อันที่จริงแล้วไรมี 8 ขาจึงไม่ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่แมลง จึงไม่สามารถใช้ยาฆ่าแมลงมากำ จัดไรได้ ซึ่งการเลือกใช้สารกำจัดไรที่มีประสิทธิภาพจึงสำคัญ
สารกำจัดไรในแต่ละระยะของไร
คุมไข่ไรด้วย มูโซ่ และ บาร์แคท
ไรจะเกิด..แต่โดนคุมกำเนิดซะก่อนด้วย มูโซ่ และ บาร์แคท
มูโซ่ = คุมไข่ + ตัวอ่อน + ตัวแก่
บาร์แคท = คุมไข่ในท้อง + ฆ่าตัวอ่อน
พิธีกร : ทิพวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ ตัดต่อ : ศิวพงษ์ แซ่ตั้ง
14 ม.ค. 2568
14 ม.ค. 2568
14 ม.ค. 2568