Last updated: 20 ม.ค. 2565 | 618 จำนวนผู้เข้าชม |
2 พลัง น็อคและแทรกซึม
เพลี้ยจักจั่นฝอย (Amrasca durianae)
ลักษณะ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทุเรียน เนื่องจากเพลี้ยจักจั่นมีปากแบบเจาะดูด การดูดกินน้ำเลี้ยงในเซลล์พืช จะไม่ทำให้เซลล์พืชแตก แต่จะใช้น้ำลายซึ่งมีสารพิษไปย่อยผนังเซลล์ของพืชให้บางลง ทำให้ขอบใบของทุเรียนบางและอ่อนลง
อาการ ใบม้วนงอ ขอบใบมีลักษณะคล้ายยถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาทำให้ขอบใบที่ม้วนงอเกิดอาการคล้ายใบไหม้
เพลี้ยไฟ (Stenchaetothrips biformis)
ลักษณะ เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก บางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว วงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 11-18 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 22 วัน
อาการ เพลี้ยไฟสามารถเข้าทำลายพืชได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ระยะใบอ่อน ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ มีสีน้ำตาล ทำให้ใบหยิก อาการรุนแรงทำให้ใบร่วง ในระยะดอก จะพบการอาศัยของเพลี้ยไฟที่ส่วนเกสร และกลีบดอก สามารถทำให้ดอกไม่สมบูรณ์ และดอกร่วง ระยะหางแย้ถึงผลอ่อน จะพบเพลี้ยตามซอกหนามของทุเรียน ทำให้หนามทุเรียนติดกัน เมื่อผลทุเรียนโตจะทำให้หนามจีบหรือหนามติด
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา
ฆ่าเพลี้ย ฆ่าหนอน #นาวาโรน-คอมบิ
ถูกตัวตายและกินตาย สารทดแทนคลอร์ไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน
ชื่อสามัญ: เอสเฟนวาเลอเรต 1.25% + เฟนิโทรไธออน 25% EC
กลุ่มสาร: Pyrethroid + Organophosphorus (3A+1B)
ประโยชน์: กำจัดเพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ หนอน
เพิ่มเติม เป็นยาเย็น สามารถพ่นผ่าดอกได้
อัตราใช้: 250-300 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566