Last updated: 21 ม.ค. 2565 | 274 จำนวนผู้เข้าชม |
เตือนภัย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำลังมา...
เนื่องจากเกษตรกรมีการเพาะปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นแหล่งอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ตลอด โดยพื้นที่ปลูกข้าวอายุน้อยกว่า 40 วันเป็นระยะข้าวที่ควรเฝ้าระวังและมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ (ข่าวประชาสัมพันธ์ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร)
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens) เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนดำ แบ่งออกเป็นชนิดปีกสั้นและชนิดปีกยาว อพยพเคลื่อนย้ายด้วยอาศัยกระแสลม
ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยสามารถเข้าทำลายด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง ตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่า “อาการไหม้” (hopperburn) โดยส่วนมากพบในระยะแตกกอจนถึงออกรวง นอกจากนี้ยังเป็นพาหะของโรคใบหงิกข้าวที่เกิดจากเชื้อไวรัส อีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร)
หากพบการระบาดรุนแรง ให้เลือกใช้สารกำจัดแมลงดังนี้
คอนตินิว
สารอิมิดาโคลพริด 70% WG (กลุ่ม4A)
กลุ่มสาร:Neonicotinoid
อัตราการใช้: 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ #อิมิดาโคลพริด10
สาร:อิมิดาโคลพริด 10% SL (กลุ่ม4A)
กลุ่มสาร:Neonicotinoid
อัตราการใช้: 20-30 ซีซี ต่อน้ำ20 ลิตร
คุณสมบัติพิเศษ: สูตรยาเย็น พ่นฝ่าดอกและยอดอ่อนได้ พร้อมทั้งป้องกันการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566