Last updated: 12 ต.ค. 2566 | 536 จำนวนผู้เข้าชม |
“มิราอิ”
พ่นยาหน้าฝน จะต้องทนลุ้นอีกนานแค่ไหน? มิราอิ แทรกซึมไว จะฝนไหนก็ไม่กลัว
มิราอิ (Amisulbrom) อยู่ในกลุ่ม Sulfonamoyltriazole ออกฤทธิ์ป้องกันกำจัดเชื้อราโดยเฉพาะในกลุ่ม Oomycetes ซึ่งเป็นสาหตุสำคัญของโรคพืชหลายชนิด
มิราอิ เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่จัดอยู่ในกลุ่ม 21 มีกลไกการออกฤทธิ์โดยไปรบกวนกระบวนการหายใจและการสร้างพลังงานของเชื้อรา โดดเด่นในการป้องกันกำจัด โรคใบไหม้มันฝรั่ง (Potato late blight) สาเหตุจากเชื้อ Phytophthora infestans และพืชในกลุ่ม มะเขือเทศ มะเขือ พริก และพิทูเนีย และโรคราน้ำค้าง (Downy mildew) เช่น ราน้ำค้างในองุ่น (สาเหตุจากเชื้อ Plasmopara viticola) ราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง (สาเหตุจากเชื้อ Pseudoperonospora cubensis) และราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำ (สาเหตุจากเชื้อ Hyaloperonospora brassicae) เป็นต้น
มิราอิ เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส (Contact fungicide) เด่นด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์จำเพาะของโรงงานผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้ มิราอิ สามารถแทรกซึมผ่านชั้น wax layer เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็วและเคลื่อนที่ภายในเนื้อเยื่อพืชแบบ Translaminar จึงออกฤทธิ์ได้ยาวนาน ทนการชะล้างของฝนแม้จะใช้ในอัตราน้อย และออกฤทธิ์ได้ทั้งการป้องกัน (Protective) ก่อนการเข้าทำลายของเชื้อราและการรักษา (Curative) เมื่อเริ่มเกิดโรคในระยะเบื้องต้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนว่าสาร Amisulbrom ใน มิราอิ สามารถป้องกันกำจัดเชื้อราดื้อยาหลายชนิด ดังนั้นการใช้ มิราอิ ร่วมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม เช่น ทอลล่า 80 เบอร์บาตอฟ และริเวอร่า จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการรับมือกับปัญหาเชื้อราดื้อยา โดยเฉพาะเชื้อราดื้อยาสาเหตุ โรคใบไหม้มันฝรั่ง และ โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง
หากยาเชื้อราที่เคยใช้ไม่ได้ผลเหมือนเก่า…อย่ามัวนั่งเศร้า เพราะเราเอา มิราอิ มาให้ลอง
12 ต.ค. 2566
11 ต.ค. 2566
30 มี.ค. 2566
11 ต.ค. 2566