ตัวเล็กๆ แต่ปัญหาหญ่าย...ใหญ่

Last updated: 21 ม.ค. 2565  |  462 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตัวเล็กๆ แต่ปัญหาหญ่าย...ใหญ่

ตัวเล็กๆ แต่ปัญหาหญ่าย...ใหญ่


ไรแดงแอฟริกัน Eutetranychus africanus (Tucker) วงศ์ Tetranychidae
ส่วนใหญ่เป็นไรศัตรูพืชของ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ทุเรียน และมะละกอ พบการระบาดในช่วงฤดูแล้ง
การเข้าทำลาย: สามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายพืชด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณผิวใบและผล โดยเฉพาะระยะใบเพสลาดจนถึงใบแก่


อาการที่พบ ใบมีจุดสีเขียวซีดจนถึงเหลืองจางกระจายทั่วบริเวณผิวใบ ทำให้ใบสูญเสียพื้นที่ของคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสงจึงลดลง หากพบอาการรุนแรงจะทำให้ใบร่วง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกและติดผล
การจัดการ: การจัดการที่มีประสิทธิภาพควรใช้วิธีการป้องกันโดยพ่นสารเคมีกำจัดไรสลับกลุ่มสาร เพื่อป้องกันการดื้อยาของไรศัตรูพืช หากพบการระบาดของไรให้ใช้สารเคมีที่สามารถกำจัดไรได้ในทุกระยะและคุมไข่ เพื่อตัดวงจรชีวิตของไร (ที่มา: พิเชฐ์ และคณะ. 2554. การคัดเลือกสารฆ่าไรบางชนิดในการป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกัน  Eutetranychus africanus (Tucker) ในแปลงทดสอบ.)


สารป้องกันกำจัดไรแดงแอฟริกัน
#บาร์แคท สารเฮกซีไทอะซอกซ์ 1.8% EC
กลุ่มสาร: Carboxamide (กลุ่ม 10A)
อัตราการใช้: 300 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร
สินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ป้องกันกำจัดไรในระยะไข่จนถึงตัวอ่อน (คุมไข่-ตัวอ่อน)


#มูโซ่ สารไซฟลูมีโทเฟน 20% SC
อัตราการใช้: 100 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร
กลุ่มสาร: Benzoylacetonitrile (กลุ่ม 25) สูตรยาเย็น
สินค้าจากประเทศญี่ปุ่น ป้องกันกำจัดไรได้ทุกระยะ ทั้งระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย คุมนาน (คุมไรทุกระยะ)


#ไพรีด้า สารไพริดาเบน 20% WP
กลุ่มสาร: Pyridazinone (กลุ่ม 21A)
อัตราการใช้: 200 กรัม ต่อ น้ำ 200 ลิตร
กำจัดไรตัวเต็มวัย ออกฤทธิ์ไว


#ฮอร์นทราส สารอะมีทราซ 20% EC
กลุ่มสาร: Amidine (กลุ่ม 19)
อัตราการใช้: 300 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร
กำจัดไรในระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย
อย่าลืมสลับกลุ่มยาเมื่อใช้งาน ลดการดื้อยาของไรแดงแอฟริกัน


#สลับกลุ่มยา
#ปกป้องใบแก่ส้มจากไรแดงแอฟริกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้