Last updated: 21 ม.ค. 2565 | 1412 จำนวนผู้เข้าชม |
เผือก...ทรัพย์ในดินกับปัญหาผลผลิตที่ลดลง
โรคที่เข้าทำลายเผือกเป็นประจำและพบเห็นด้วยทั่วไปในแปลงเผือกคือ โรคใบไหม้ (ใบจุด ตากบตาเสือ; Taro leaf blight) ของเผือก
เกิดจากเชื้อราสาเหตุโรค: Phytophthora colocasiae
ลักษณะอาการ: อาการบนใบ ระยะแรกจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม ปรากฏบนใบและขยายออกเป็นวงซ้อนๆ กัน บริเวณขอบแผลมีสีเหลืองและกลุ่มของสปอร์มีสีเหลือง เมื่อแห้งจะเป็นผงละเอียดสีคล้ายสีของสนิม ระยะรุนแรงแผลจะขยายต่อๆ กัน ทำให้ใบม้วนเข้าหากันและใบแห้ง อาจเน่าได้เมื่ออากาศมีความชื้น อาการที่แสดงบนก้านใบ มีแผลฉ่ำน้ำ รูปร่างยาวรี มีสีน้ำตาลอ่อน แผลขยายเป็นวงซ้อนกัน ต่อมามีอาการเน่า แห้ง มีสีน้ำตาล ทำให้ก้านหัก และเชื้อสามารถกระจายเข้าทำลายส่วนของหัวเผือกได้อีกด้วย ทำให้หัวของเผือกเน่า หัวเผือกไม่ลงหัวและมีขนาดเล็ก (อมรรัชฏ์และคณะ. 2560. ศึกษาราสกุล Phytophthora ในเผือก.)
ช่วงการระบาด: มักพบการระบาดเมื่อฝนตกติดต่อกันหลายๆ วัน หรืออากาศมีความชื้นสูง
รายงานการเกิดโรคใบแห้ง ใบจุด ตาเสือ พบในพืชหลายชนิดได้แก่ เผือก บอนน้ำ บอนเขียว และคูณ ในประเทศไทย (อมรรัตน์. 2556. พืชที่เป็นโรคไฟทอปธอรา)
ป้องกันและกำจัดโรคตากบตาเสือของเผือกด้วย เอสโตบิ้น + ยาวาร่า
สารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม
เอสโตบิ้น สารอะซอกชีสโตรบิน 25% SC
กลุ่มสาร: strobilurin thyp: methoxyacrylate (กลุ่ม C3)
คุณสมบัติ: เกาะติดพืชได้ดี แม้ในวันที่มีน้ำค้างมาก
อัตราการใช้: 10-20 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร
สารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส
ยาวาร่า สารคลอโรทาโลนิล 50% SC
กลุ่มสาร: choloronitrile (กลุ่ม M)
สินค้าคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น
อัตราการใช้: 20-30 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร
พ่นให้ทั่วบริเวณใบทั้งใต้ใบและบนผิวใบ
การจัดการโรคที่ดีควรพ่นป้องกันก่อนจะเกิดโรค หากสังเกตและพบว่าสภาพอากาศเริ่มจะเหมาะสมต่อการเกิดโรคให้เริ่มพ่นสารชนิดสัมผัส ยาวาร่า สลับกับสารชนิดกลุ่มอื่น
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566