Last updated: 29 มี.ค. 2566 | 331 จำนวนผู้เข้าชม |
โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (1/2)
มีสาเหตุจากเชื้อราชั้นต่ำ Phytophthora palmivora
ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Oomycetes เชื้อรากลุ่มนี้อาศัยอยู่ในดินและเข้าทำลายเซลล์ของระบบรากและบริเวณโคนต้น โดยเชื้อราจะดูดกินสารอาหารภายในเซลล์พืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต การสร้างเส้นใย และการสร้างส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่าสปอร์ เชื้อราในกลุ่มนี้มี zoospore ซึ่งมีหาง 2 หาง (biflagella) ช่วยในการเคลื่อนที่ไปกับระบบน้ำใต้ดิน จึงมักพบว่าการเข้าทำลายของเชื้อรากลุ่มนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกชุก ความชื้นสูง การระบายน้ำในดินไม่ดี และดินอยู่ในสภาพเป็นกรด ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของเชื้อรา
การป้องกันกำจัด โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การดูแลต้นทุเรียนให้แข็งแรงมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี การเขตกรรมที่เหมาะสมช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรคในดิน การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ การฉีด Phosphorus acid เข้าต้น และการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (ทอลล่า 80) เมทาแลกซิล อีไตรไดอะโซล (ฮอนเทอร่า) และ ไดเมโทมอร์ฟ-โพรคลอราช (เบอร์บาตอฟ)
ทอลล่า 80 เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม (Systemic fungicide) สามารถดูดซึมเข้าสู่พืชได้ทั้งทางใบและราก สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งในระบบท่อน้ำ (จากรากขึ้นสู่ลำต้นและใบ) และระบบท่ออาหาร (จากใบลงสู่ลำต้นและราก) เมื่อ ทอลล่า 80 ดูดซึมเข้าสู่เซลล์พืชจะแตกตัวและปลดปล่อย Phosphorus acid ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการงอกของสปอร์และยับยั้งกระบวนการเจาะเข้าทำลายเซลล์พืชของเชื้อรา นอกจากนี้ ทอลล่า 80 ยังช่วยส่งเสริมกลไกการป้องกันตัวเองของพืช กระตุ้นให้พืชต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคอีกด้วย
ทอลล่า 80
ชื่อสามัญ : ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WG
กลุ่มสาร : Phosphonate (กลุ่ม P07)
การออกฤทธิ์ : ดูดซึม
ประโยชน์ : ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โรคยอดเน่า ผลเน่า โรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา
อัตรา : 300-400 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
เมทาแลกซิล เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม (Systemic fungicide) ใช้ควบคุมเชื้อราในกลุ่ม Oomycetes และราน้ำ เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช สารจะออกฤทธิ์แทรกซึมเข้าสู่เส้นใยเชื้อราไปยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (RNA) และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อรา ส่งผลไปรบกวนการเจริญเติบโตของเส้นใยและการสร้างส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราในเนื้อเยื่อพืช เมทาแลกซิล เป็นสารที่ดูดซึมได้เร็วและทนต่อการชะล้างของฝน โดยมากนิยมถากเปลือกไม้ที่เริ่มเปื่อยยุ่ยออกก่อนแล้วจึงทา เมทาแลกซิล บริเวณแผลเพื่อจำกัดการพัฒนาของโรคและการลุกลามของแผล
เมทาแลกซิล
ชื่อสามัญ : เมทาแลกซิล 25% WP
กลุ่มสาร : Phenylamide : Acylalanine (กลุ่ม 4 (A1)
การออกฤทธิ์ : ดูดซึมและยับยั้งการเจริญเติบโต
ประโยชน์ : ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าดำ โรคกล้ายุบที่เกิดจากเชื้อรา
อัตรา : 300-500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ทาต้น 80-100 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566
12 ต.ค. 2566