ป้องกันกำจัดโรคใบติดทุเรียนด้วย เอสโตบิ้น

Last updated: 15 ม.ค. 2568  |  61 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ป้องกันกำจัดโรคใบติดทุเรียนด้วย เอสโตบิ้น

ป้องกันกำจัดโรคใบติดทุเรียนด้วย เอสโตบิ้น

โรคราใบติด (Rhizoctonia leaf blight) สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia sp.
อาการ ใบระยะเพสลาดมีจุดฉ้ำน้ำ แผลขยายใหญ่ขึ้นคล้ายน้ำร้อนลวกสีน้ำตาล แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น จะพบอาการไหม้จากบริเวณขอบใบส่วนปลายลามไปทั่วใบ พบเส้นใยของเชื้อรายึดใบเป็นแผงสีน้ำตาล ทำให้ใบติดกัน

การแพร่กระจาย เกิดจากใบที่ร่วงไปอยู่บริเวณโคนต้น และเชื้อราอาศัยอยู่ในดินได้นาน และรอการระบาดในฤดูต่อไป หรือตกค้างอยู่กับใบอ่อนที่ตำแหน่งถัดไป พบอาการของโรคมากในฤดูฝน และช่วงอากาศมีความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดสามารถส่องทั่วทรงพุ่ม
2. ทำความสะอาดบริเวณโคนต้น โดยการเก็บกิ่งและใบที่ร่วงออกจากบริเวณโคนและนำไปทิ้งหรือเผาทำลายนอกแปลง
3. พ่นสารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโดย เอสโตบิ้น
(ที่มา: ณัทธีรา. 2559. โครงการ การพัฒนาพืชสมุนไพรท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี เพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่สำคัญในพืช. https://bit.ly/3A5ILTt)

เอสโตบิ้น การออกฤทธิ์ แบบดูดซึม และยับยั้งการหายใจ
ชื่อสามัญ: อะซอกซีสโตรบิน 25% W/V SC
กลุ่มสาร: Strobilurin type : methoxyacrylate (กลุ่ม 11)
ประโยชน์: ป้องกันกำจัดแอนแทรคโนส โรคหอมเลื้อย โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง โรคเน่าคอรวง
เพิ่มเติม: สามารถเกาะติดพืชได้ดี แม้จะมีน้ำค้างมาก
อัตราใช้: 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้