โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (2/2)

Last updated: 29 มี.ค. 2566  |  163 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (2/2)

 โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน (2/2)

รากที่ถูกเข้าทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ช้ำและเน่า เปลือกหุ้มรากจะเริ่มเปื่อยยุ่ย และอาจลุกลามไปยังบริเวณโคนต้นระดับเหนือดินได้ หากเชื้อเข้าทำลายโคนต้นหรือลำต้นจะพบแผลมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะฉ่ำน้ำ มีเมือกหรือหยดน้ำสีน้ำตาลแดงเคลือบอยู่ เมื่อกดดูจะรู้สึกนิ่ม เปลือกไม้เริ่มเปื่อยยุ่ยเมื่อถากออกจะพบเนื้อไม้ด้านในเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง
ระบบรากมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อระบบรากได้รับความเสียหายจากการโจมตีของเชื้อราทำให้ประสิทธิภาพการดูดน้ำและธาตุอาหารของพืชลดลง ส่งผลให้มักมีการแสดงอาการใบซีดเหลือง สลด ใบไม่เป็นมันร่วมด้วย เมื่อโรคพัฒนาจนถึงระดับรุนแรงจะส่งผลให้ใบร่วงและต้นทุเรียนยืนต้นตายในที่สุด

โดยมากอาการของโรคสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ คือ
ระยะที่ 1 >> เพิ่งเริ่มแสดงอาการ พบบริเวณแผลฉ่ำน้ำหรือเริ่มมีน้ำเยิ้มออกมาจากบริเวณแผล ใบเริ่มซีดเหลือง ผิวใบไม่มัน ใช้ เมทาแลกซิล ทาบริเวณแผลที่แสดงอาการร่วมกับการฉีดพ่น ทอลล่า80 ทางใบ/บริเวณโคนต้น
ระยะที่ 2 >> ใบเริ่มร่วง ยอดไม่เดิน ใช้ ทอลล่า80 ฉีดพ่นทางใบ/บริเวณโคนต้นร่วมกับการฝังเข็มเข้าต้นด้วย พอสฟิเทค เค (0-30-18)
ระยะที่ 3 >> แสดงอาการโรครุนแรง ต้นชะงักการเจริญเติบโต ใช้ ฮอนเทอร่า ราดบริเวณโคนต้นร่วมกับการฉีด เบอร์บาตอฟ เข้าไปในบริเวณแผล

การใช้ เมทาแลกซิล ร่วมกับ ทอลล่า 80 จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน อีกทั้งยังช่วยลดการพัฒนาของโรคและช่วยลดระดับความรุนแรงในการเกิดโรคอีกด้วย

ฮอนเทอร่า เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดสัมผัส (Contact fungicide) มีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม Oomycetes โดยเฉพาะเชื้อราในดินอย่าง Phytophthora sp. และ Pythium sp. สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า และเน่าคอดิน ฮอนเทอร่า จะไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Phospholipase และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการ Lipid peroxidation ซึ่งไปรบกวนการสร้างชั้นไขมันของเยื่อหุ้มไมโทคอนแดรีย ส่งผลในการยับยั้งกระบวนการสร้างพลังงานและการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรค

เบอร์บาตอฟ เป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดดูดซึม (Systemic fungicide) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราจากการทำงานร่วมกันของสารออกฤทธิ์ 2 ชนิด คือ ไดเมโทมอร์ฟใน เบอร์บาตอฟ จะไปยับยั้งการสร้างเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบโครงสร้างผนังเซลล์ของเชื้อราในกลุ่ม Oomycetes และยับยั้งการงอกของสปอร์ ส่วนโพรคลอราชใน เบอร์บาตอฟ สามารถดูดซึมและเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆของพืชผ่านระบบท่อน้ำและทำหน้าที่ยับยั้งการสังเคราะห์สเตียรอยด์ในผนังเซลล์ ซึ่งไปรบกวนกระบวนการแบ่งเซลล์ของเชื้อรา

การใช้ ฮอนเทอร่า ร่วมกับ เบอร์บาตอฟ จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน อีกทั้งยังช่วยลดการพัฒนาของโรคและช่วยลดระดับความรุนแรงในการเกิดโรคอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้