การเข้าทำลายของ Phytophthora palmivora + Fusarium solani + มอด ในทุเรียนส่งผลอย่างไร?

Last updated: 29 มี.ค. 2566  |  741 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเข้าทำลายของ Phytophthora palmivora + Fusarium solani + มอด ในทุเรียนส่งผลอย่างไร?

การเข้าทำลายของ Phytophthora palmivora + Fusarium solani + มอด ในทุเรียนส่งผลอย่างไร?
การเข้าทำลายของเชื้อรา Fusarium sp. ในส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียนนั้น ทุเรียนจะต้องเกิดแผลมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Phytophthora sp. และมักพบการเข้าทำลายของมอดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเราควรใช้สารเคมีในครอบคลุมทั้งปัญหา 3 ชนิด เพื่อรักษาต้นทุเรียน


โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน สาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora palmivora

อาการ ทำให้รากมีสีน้ำตาล ช้ำและเน่า ลามไปสู่ลำต้น มักพบอาการบริเวณโคนต้น ทำให้เน่า เปลือกและลำต้นแตกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลม่วง เนื้อเยื่อนิ่ม มีสีน้ำตาลแดง อาการที่ผล พบจุดสีน้ำตาลและลามเข้าไปสู่เนื้อข้างใน ทำให้เนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เน่า อาการพบในผลใกล้สุก

ล้างโรคเกลี้ยงด้วย ฮอนเทอร่า
ชื่อสามัญ: อีไตรไดอะโซล 24% W/V EC
กลุ่มสาร: Aromatic hydrocarbon (กลุ่ม 14)
การออกฤทธิ์: สัมผัส
ประโยชน์: ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าดำ
อัตรา: 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดโคนบริเวณรอบๆ ทั่วทรงพุ่ม 

ราดโคนต้นด้วย ทอลล่า 80
ชื่อสามัญ : ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WG
กลุ่มสาร : Phosphonate (กลุ่ม P07)
การออกฤทธิ์ : ดูดซึม
ประโยชน์ : ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โรคยอดเน่า ผลเน่า โรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา
อัตรา : 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

โรคกิ่งแห้ง สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium solani
อาการ พบการเข้าทำลายบริเวณกิ่งทุเรียน ทำให้ท่อลำเลียงน้ำและอาหารถูกทำลาย น้ำจากรากที่ถูกลำเลียงขึ้นมาไปเลี้ยงกิ่งและใบไม่ได้ ทำให้กิ่งแห้ง ใบเหลืองและแห้ง ร่วง และต้นตาย

เบอร์บาตอฟ การออกฤทธิ์ แบบสัมผัสและดูดซึม
ชื่อสามัญ: ไดเมโทมอร์ฟ 15% + โพรคลอราซ 15% SC
กลุ่มสาร: Cinnamic acid amide (กลุ่ม 40) + Imidazole (กลุ่ม 3)
อัตรา: 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

ยาวาร่า + เอสโตบิ้น
ยาวาร่า การออกฤทธิ์แบบสัมผัส
ชื่อสามัญ: คลอโรทาโลนิล 50% W/V SC
กลุ่มสาร: choloronitrile (กลุ่ม M)
สินค้าคุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น 
อัตรา: 200 ซีซี ต่อ น้ำ 200 ลิตร

เอสโตบิ้น การออกฤทธิ์แบบดูดซึม
ชื่อสามัญ: อะซอกซีสโตรบิน 25% W/V SC
กลุ่มสาร: Strobilurin type : methoxyacrylate (กลุ่ม 11)
ประโยชน์: ป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนส โรคหอมเลื้อย
โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่าง โรคเน่าคอรวง โรคราสีชมพู โรคไฟทอปธอร่า โรคใบติด
เพิ่มเติม: สามารถเกาะติดพืชได้ดี แม้จะมีน้ำค้างมาก
อัตรา: 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร 

มอด

ลักษณะ หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน ส่วนมากพบการทำลายบริเวณ โคนต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายจะสังเกตเห็นรูพรุนตามโคนต้นและที่ปากรูพบมูลของหนอนลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไป รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลายทำให้ทุเรียนเกิดโรคดังกล่าวและอาจตายได้ นอกจากนี้เนื่องจากมีรายงานว่ามอดชนิดนี้อาศัยร่วมกับเชื้อราสกุลฟิวซาเรียมดังข้อมูลข้างต้น ดังนั้นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกิ่งแห้งในทุเรียน และทุเรียนยืนต้นตายได้ด้วย

เอสทีน่า 80 การออกฤทธิ์ แบบดูดซึมและสัมผัส ทำลายระบบประสาทแมลงศัตรูพืช
ชื่อสามัญ : ฟิโพรนิล 80% WG
️กลุ่มสาร : Phenylpyrazole (กลุ่ม 2B)
อัตรา: 20 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

เอสทีน่า การออกฤทธิ์ แบบดูดซึมและสัมผัส ทำลายระบบประสาทแมลงศัตรูพืช
ชื่อสามัญ : ฟิโพรนิล 5% W/V SC
กลุ่มสาร : Phenylpyrazole (กลุ่ม 2B)
ประโยชน์ : กำจัดเพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น หนอนม้วนใบ หนอนกอ มวน ปลวก
เพิ่มเติม : มีความเป็นพิษต่อปลาต่ำ
อัตรา : 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้